เคล็ดลับในการดูแลรักษาผ้าขนหนู

การดูแลรักษา
เคล็ดลับในการดูแลรักษาผ้าขนหนู

1. เมื่อรู้สึกว่าผ้าเริ่มไม่สะอาด ควรรีบซักทันที

หากเป็นไปได้ควรซักผ้าขนหนูที่ใช้แล้วทันที เมื่อเริ่มรู้สึกว่าผ้าไม่สะอาด หรือซักอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อไม่ให้ผ้าเกิดความสกปรกฝังแน่น และเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย     จึงไม่ควรทิ้งไว้นาน และควรแยกซักจากเสื้อผ้าอื่นๆด้วย



2. แยกซักผ้าสีเข้ม
ผ้าสีเข้มควรแยกซักจากผ้าสีอ่อน เพราะอาจมีสีส่วนเกินใน 2-3 น้ำแรกของการซักผ้า



3. ซักโดยใช้น้ำเยอะ และซักน้ำเปล่าหลายๆ รอบ

ถ้าจำนวนผ้ากับปริมาณน้ำไม่เหมาะสม อาจเกิดการเสียดสี และทำให้ผ้าเสียหายได้ จึงควรใช้ปริมาณน้ำที่มากพอ เพื่อผ้าจะได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ





4. การใช้เครื่องซักผ้า

เนื่องจากเครื่องซักผ้า ทำความสะอาดโดยการเขย่าผ้าเพื่อประโยชน์ของคุณ ควรใช้ถุงสำหรับซักผ้า เพื่อช่วยถนอมเนื้อผ้าและป้องกันไม่ให้ขนของผ้า เกิดความเสียหาย



5. ห้ามใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของคลอรีน
เนื่องจากจะทำให้เกิดผลเสียหายดังนี้
   1) ทำให้สีด่าง
   2) ทำให้ผ้าเปื่อยเร็วขึ้น
   3) ทำให้ส่วนผสมของเส้นใยบางชนิดหดตัว



6. ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม ในปริมาณที่น้อย
(หรือไม่ควรใส่ น้ำยาปรับผ้านุ่ม)โดยเฉพาะผ้า Super Soft

ถ้าใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มมากเกินไป จะทำให่ขนหลุดร่วงในขณะซัก และใช้งาน ควรใช้เมื่อรู้สึกว่าผ้าแข็งเท่านั้น แต่ไม่ควรใช้ทุกครั้งที่ซัก น้ำยาปรับผ้านุ่มทำให้ผ้าขนหนูที่แข็ง จากการใช้งานมานานลื่นขึ้น มันเพียงแค่ทำให้พื้นผิวของเส้นใยเรียบเนียนขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ทำให้เส้นใยนุ่มขึ้น และมันอาจจะทำให้ความสามารถในการดูดซับลดลงด้วย




7. อุณหภูมิที่เหมาะสมในการซักผ้าขนหนู
(ห้ามใช้น้ำร้อนในการซักผ้า) ไม่ควรเกิน 40 องศา

เนื่องจากอาจเกิดการหดตัวของหัวลายที่มีส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์, เรยอน, ยางยืด หรืองานปัก แนะนำให้ซักในอุณหภูมิปกติ หรืออุณหภูมิ 40 องศาเท่านั้น ดังนั้นจึงควรอ่านป้ายคำแนะนำการดูแลรักษาก่อนซักเสมอ



8. ผ้าที่มีส่วนผสมของเส้นใยยางยืด

สำหรับผ้าที่มีส่วนผสมของเส้นใยยางยืดนั้น ควรซักในอุณหภูมิปกติ ไม่ควรซักด้วยน้ำร้อน



9. อย่าบิดมากเกินไป
ถ้าผ้าขนหนูถูกปั่นแห้งมากเกินไป ขนของผ้าก็จะแบนราบลง และไม่นุ่มเหมือนเดิม ถ้าปล่อยผ้าขนหนูทิ้งไว้หลังจากการปั่นแห้ง ผ้าก็จะแข็ง และไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ง่ายๆ   ดังนั้นเมื่อปั่นแห้งเสร็จก็ควรเอาออกจากเครื่องซักผ้า



10. สะบัดผ้าให้ดี ก่อนจะตากให้แห้ง
หลังจากปั่นแห้งให้สะบัดผ้าขนหนูก่อนจะตาก ซึ่งจะสะบัดแบบกางผ้าออกทั้งผืน หรือพับครึ่งแล้วสะบัดก็ได้ ให้สะบัดประมาณ 10-20 ครั้ง ขนของผ้าขนหนูจะตั้งขึ้น และฟูนุ่ม และควรตากในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก



11. ควรตากในที่ร่ม หรือใช้เครื่องอบแห้งจะได้ผลดีกว่า

ควรหลีกเลี่ยงที่จะตากผ้าให้โดนแสงแดดโดยตรง เนื่องจากแสงยูวีอาจทำให้ผ้าแข็งขึ้นและสีก็จะซีดจางลงด้วย การอบผ้าให้แห้งในเครื่องอบผ้าจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้ผ้าฟูนุ่มมากขึ้น



12. ไม่ควรรีดผ้าขนหนู

เนื่องจากจะทำให้ขนของผ้าแบนไม่ฟู และเส้นใยแต่ละชนิดก็ต้องการอุณหภูมิที่พอเหมาะไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรอ่านป้ายแนะนำการดูแลรักษาก่อนเสมอ



13. รักษาความนุ่มฟู ด้วยวิธีการเก็บที่ถูกต้อง
ผ้าขนหนูที่นุ่มฟูเพราะมันกักเก็บอากาศไว้ระหว่างเส้นใย ถ้าคุณพับแล้ววางซ้อนกันหลายๆชั้น ขนของผ้าขนหนูก็จะแบนราบ และสูญเสียความหนาฟูไป ดังนั้นคุณควรม้วนหรือพับ เพื่อหลีกเลี่ยงการวางซ้อนกันเยอะๆ เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดมาก และต้องเก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีอีกด้วย เนื่องจากผ้าขนหนูดูดความชื้นได้ดี